วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เพชรนารายณ์

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pleomele thalioides.

วงศ์

LILIACEAE

ชื่อสามัญ

-

ชื่ออื่นๆ

-

ลักษณะทั่วไป

เป็นว่านที่มีหัวเป็นลำต้นขึ้นมาจากใต้ดิน มีลักษณะกลมตรงและเป็นข้อ แตกต้นใหม่ตามข้อเนื้อของลำต้นจะแข็ง ก้านใบสีเขียวยามเต็มที่ประมาณ 25-30 ซม. แตกใบอ่อนตรงกลางต้น ใบสีเขียวมีร่องตื้นๆ เรียงเป็นขีดตามความยาวของตัวใบ 5-6 ร่อง ซึ่งใบเป็นรูปหอกปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเข้าหาก้านใบ ว่านเพชรนารายณ์มีดอกสีแดงเรื่อๆ ผสมสีเหลือง ลักษณะคล้ายกับดอกหงอนไก่ ฝักดอกเป็นสีขาว ออกดอกใน เดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ของทุกปี

การปลูก

ควรปลูกในดินร่วนปนทรายเล็กน้อย หรืออาจใช้ดินเผาผสมใบไม้เป็นดินปลูกก็ได้ เป็นว่านที่ชอบน้ำควรรดน้ำให้ชุ่มทุกเช้า-เย็น ควรให้ได้รับแสงแดดปานกลาง

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ความเป็นมงคล

ว่านเพชรนารายณ์เป็นว่านที่ให้คุณทางมหานิยม เป็นสิริมงคลแก่บ้าน และร้านค้าขายโดยทั่วไป เชื่อกันว่าเป็นนะจังงัง ทำให้ผู้ที่ต้องการมาต่อว่าต่อขานกลับเป็นพูดดี คือมาร้ายจะกลายเป็นดี
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.panmai.com/Warn/Warn_LILIAC_01.shtml

ฟิโลทอง

กิติยา เตชะวรรณวุฒิ 7 photo DSCF2587.jpg
ลักษณะทั่วไป
ไม้เลื้อยเนื้ออ่อนขนาดเล็ก เลื้อยได้ไกล 1-3 เมตร ใบออกเวียนสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ขนาด 4-8 x 8-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนาสีเขียวอ่อนแกมเหลืองเป็นมัน ก้านใบสีชมพู ยาว 7-8 เซนติเมตร มักไม่พบช่อดอก  เพราะออกเป็นดอกเดี่ยวๆ  ออกดอกชุกในช่วงเดือนมีนาคม
การปลูกเลี้ยง
ปลูกในที่มีแสงรำไร ความชื้นสูง เลี้ยงง่ายและทนทาน ชอบดินร่วนระบายน้ำดี นิยมปลูกเป็นไม้กระถางเลื้อยขึ้นหลักหรือเกาะกับไม้ใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอด  
มีชื่อระบุชนิด erubescens แปลว่า สว่าง สื่อถึงลักษณะของสีใบ  ที่เป็นสีเขียวและเหลืองอ่อนๆ ความงามของดอกมีรูปลักษณ์ตามธรรมชาติที่สะดุดตาน่าชม 

ขอบคุณข้อมูลจากhttps://www.gotoknow.org/posts/565380

ปาล์มสิบสองปันนาเ

ปาล์มสิบสองปันนา
ปาล์มสิบสองปันนาเป็นพรรณไม้ตระกูลปาล์มมีลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 1.5-2 เมตร ส่วนยอดของลำต้นมีกาบใบแตกออกมา ใบสีเขียวเข้ม มีลักษณะเป็นรูปขนนกแผ่โค้งออกรอบต้น ทำให้ดูสวยงาม โดยเมื่อปลูกเดี่ยวปล่อยให้มีพื้นที่ว่างรอบๆ ต้น ปาล์มสิบสองปันนาจะแผ่กิ่งก้านใบออกอย่างเสรีดูสวยและสง่างาม
ปาล์มสิบสองปันนาเป็นไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ตลอดวัน ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้แม้มีแสงแดดน้อยและน้ำน้อย จึงสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้
ปาล์มสิบสองปันนาเหมือนกับปาล์มชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการดูดสารพิษในอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะสารไซรีน (xylene) และมีการคายความชื้นที่ดี จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารสำนักงาน

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.panmai.com/Pollution/Pollution_04.shtml

เสน่ห์จันทร์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง ชื่อสามัญ King of Heart[2]
เสน่ห์จันทน์แดง (เสน่ห์จันทร์แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena rubescens Kunth. จัดอยู่ในวงศ์ ARACEAE[1]

ลักษณะของเสน่ห์จันทน์แดง

  • ต้นเสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลายๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีควาทสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://frynn.com/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

เต่าร้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Caryota mitis Lour.
ชื่อสามัญ :   Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm
วงศ์ :   PALMAE
ชื่ออื่น :  เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า กว้างประมาณ 13 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน กาบใบ ยาว 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม ดอก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบหรือใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว 60-80 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกเป็นพวงๆ ทรงกลม ขนาด 2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงคล้ำ
ส่วนที่ใช้ : หัว ราก
สรรพคุณ : หัวและราก มีรสหวานเย็นขม ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_29_2.htm

สาวน้อยประแป้ง

สาวน้อยประแป้ง
สาวน้อยประแป้งเป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายนอกและภายในอาคารมานานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย ทน และใบที่มีลวดลายสวยงาม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงคุณค่าของสาวน้อยประแป้งในฐานะที่เป็นไม้ที่ช่วยฟอกอากาศ สามารถดูดสารพิษได้มากชนิดหนึ่ง สาวน้อยประแป้งมีใบใหญ่คล้ายใบพาย มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน เขียวแก่ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆ มีลายแต้มประปรายสีขาวหรือเหลืองอ่อน ดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่า สาวน้อยประแป้ง
เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ชอบอากาศอบอุ่นและความชื้นสูง แต่ก็สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ดีในห้องที่มีความเย็นและสภาพอาการแห้งแล้ง จึงเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย คุณสมบัติของสาวน้อยประแป้งที่มีใบขนาดใหญ่ จึงทำให้เป็นไม้ประดับที่ดูดสารพิษภายในห้องได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.panmai.com/Pollution/Pollution_20.shtml

เขียวหมื่นปี

เขียวหมื่นปี
เขียวหมื่นปีเป็นไม้ประดับที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้กระถางภายในบ้านเรือน หรือเป็นไม้ประดับภายในอาคารสำนักงาน ด้วยจุดเด่นที่เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มาก ทนทาน แม้ในที่ที่มีสภาพแห้งแล้งและความชื้นต่ำ รวมทั้งสามารถเจริญงอกงามได้ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย
ลักษณะเด่นอีกอย่างของเขียวหมื่นปีก็คือ มีทั้งลำต้นและใบที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ใบมีลวดลายสะดุดตา ใบมีลักษณะเรียวแหลม ขึ้นรวมกันเป็นกอ ต้นไม่สูงมากนัก
ถึงแม้เขียวหมื่นปีจะมีความสามารถในการดูดสารพิษไม่มากนัก คืออยู่ในระดับปานกลาง แต่ก็มีอัตราการคายความชื้นสูง และมีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์ จึงเหมาะที่นำไปปลูกเป็นไม้ประดับสำหรับดูดสารพิษอีกชนิดหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.panmai.com/Pollution/Pollution_26.shtml